สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. เป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทองค์การมหาชน จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีการจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 ปัจจุบัน สทศ. มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 35-36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า "สทศ" ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "National Institute of Educational Testing Service (Public Organization)" เรียกโดยย่อว่า "NIETS" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2548 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรได้สูงสุด มีความเป็นอิสระและหน้าด้าที่ขึ้นอยู่กับสายการบริหารของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบการจัดการศึกษาจึงมีความเป็นกลาง เป็นสถาบันที่มีการกำหนดหลักการ นโยบาย มาตรการและเป้าหมาย โครงสร้างการบริหาร และการดำเนินกิจการ ความสัมพันธ์กับรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากร การเงิน การตรวจสอบ และการประเมินผลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย และให้บริการ ทางด้านการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ
เพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย พัฒนา และให้บริการทางการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและระดับนานาชาติ
1. จัดการบริหารทดสอบทางการศึกษาระดับชาติให้ได้มาตรฐาน 2. พัฒนาข้อสอบให้สามารถวัดได้ทุกมาตรฐานการศึกษาอย่างมีมาตรฐาน 3. ดำเนินการให้มีการนำผลการทดสอบไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 4. วิจัยและพัฒนาให้มีระบบการทดสอบทางการศึกษาให้ครบทุกมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนในทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา 5. ศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบข้อสอบและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับโปรแกรม และเทคนิคการสร้างข้อสอบและมาตรฐานการวัดรูปแบบต่าง ๆ 6. ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลและข้อความรู้ เพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีต่อสาธารณชน 7. ทบทวนกฎหมาย ข้อบังคับและมติต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริง ทันสมัย และเอื้อปฏิบัติงาน 8. สนับสนุนและส่งเสริมให้สถานศึกษาและทุกระดับสถานศึกษาและต้นสังกัดมีโปรแกรมการทดสอบและประเมินผลผู้เรียนตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 9. ให้บริการการทดสอบแก่บุคลากรและหน่วยงานต่าง ๆ 10. เป็นศูนย์กลางข้อมูลการทดสอบทางการศึกษา สนับสนุน และให้บริการผลการทดสอบแก่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้อย่างมีมาตรฐานระดับสากล
สทศ. มีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ รายชื่อต่อไปนี้มีผลตั้งแต่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย
สทศ. ได้รับการวิจารณ์เป็นวงกว้างเกี่ยวกับการออกข้อสอบผิดทุกปี รวมไปถึงการทำข้อสอบกำกวมในบทวิเคราะห์ หรือออกข้อสอบที่คำตอบถูกมากกว่า 1 ข้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชั้น ม.6 ที่ต้องใช้เป็นคะแนน 30% หรือคิดเป็น 9,000 คะแนนจากคะแนนรวมทั้งหมด 30,000 คะแนน ที่ทำให้นักเรียนบางส่วนไม่พอใจ และเกือบทุกปีข้อสอบโอเน็ตมักถูกนำเสนอแบบรายข้อผ่านทางรายการ เรื่องเช้านี้ นอกจากนี้ยังมีกรณีข้อสอบโอเน็ตวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาปีการศึกษา 2553 ที่ตั้งคำถามเชิงคำถามเปิดเกี่ยวกับ นก นพวรรณ เลิศชีวกานต์ จนภายหลังมีคนไปโพสต์คำถามนี้ในเฟสบุ๊คของ นก นพวรรณ ปรากฎว่าเจ้าตัวตอบไม่ตรงเฉลยกับ สทศ. ทั้งหมด กรณีตรวจข้อสอบผิดชุดในปีการศึกษา 2556 (โอเน็ตมีข้อสอบ 2 ชุดต่อหนึ่งวิชา) จนทำให้ต้องแจกคะแนนฟรีให้กับคนที่สอบอีกชุด แต่อีกกลุ่มกลับไม่ได้คะแนนฟรี
ในโอเน็ตปีการศึกษา 2558 ได้มีการเฉลยข้อสอบรายวิชาสังคมศึกษาผิด 1 ข้อ จนทำให้ผู้มีสิทธิ์สอบ 423,519 คน มีผู้ที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้น จำนวน 135,514 คน ได้คะแนนลดลง 131,292 คน และคะแนนคงเดิม 156,713 คน แต่ถึงอย่างไรก็ดีมีนักวิการบางส่วนรวมถึงครูกวดวิชาชื่อดัง ได้ออกมาวิจารณ์ สทศ.เพิ่มเติม ว่ายังมีข้อสอบผิดอีกหลายข้อ เช่น อ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ออกมาตำหนิข้อสอบโอเน็ตสังคมศึกษา ม.6 ผ่านเฟซบุ๊กว่ามีความกำกวมและขาดมาตรฐาน รวมถึง อ.ปิง เจริญศิริวัฒน์ ครูกวดวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาจากสถาบันกวดวิชาดาว้องก์ ที่ได้ออกมาโพสต์วิจารณ์ข้อสอบโอเน็ตสังคมศึกษาผ่านเฟสบุ๊คไลฟ์ความยาวกว่า 1 ชั่วโมง โดยได้นำเอกสารของกระทรวงเข้ามาประกอบในข้อที่ อ.ปิง อ้างว่า สทศ.เฉลยผิดอีกด้วย โดย อ.ปิงได้กล่าวว่าข้อที่ผิดทั้งหมด 5 ข้อคิดเป็นคะแนนถึง 90 คะแนนแอนดรูว์ บิ๊กส์ ครูสอนภาษาอังกฤษชื่อดังที่ได้ทำการตรวจคำตอบโอเน็ตวิชาภาษาอังกฤษ ม.3 แล้วพบว่าข้อสอบพาร์ทวิเคราะห์และพาร์ทบทสนทนา (Conversation) มีข้อที่คำตอบถูกมากกว่า 1 และมีข้อที่ สทศ.เฉลยผิด รวมทั้งหมด 4 ข้อด้วยกัน หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของทั้งหมด
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ_(องค์การมหาชน)